โรงเรียนพญาเม็งรายกับสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

 

โรงเรียนพญาเม็งราย ได้เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน มาตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๕ และได้ดำเนินการจัดกิจกรรมตามองค์ประกอบของสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนทั้ง ๕ องค์ประกอบ อันได้แก่ การจัดทำป้ายชื่อ การรวบรวมพรรณไม้เข้ามาปลูกในโรงเรียน การศึกษาข้อมูลต่างๆ การเขียนรายงาน และการนำไปใช้ประโยชน์ มาอย่างต่อเนื่อง โดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย ทั้งกิจกรรมทางวิชาการซึ่งเป็นการเรียนรู้ในเชิงบูรณาการ ตลอดจนส่งเสริมให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้า สืบค้น ข้อมูลเกี่ยวกับพรรณไม้ในรูปแบบต่างๆ ทั้งในโรงเรียนและนอกโรงเรียน ทั้งนี้เพื่อให้นักเรียนมีส่วนในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช มีบทบาทในการค้นคว้ารวบรวมข้อมูล เผยแพร่ความรู้ และที่สำคัญคือ นักเรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช

โรงเรียนพญาเม็งราย ได้จัดสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่ร่มรื่นสวยงาม มีการจัดสวนตกแต่งสถานที่ด้วยพรรณไม้ที่สวยงาม มีการดูแลเอาใจใส่ดูแลพรรณไม้เป็นอย่างดีเพื่อสร้างจิตสำนึกให้เยาวชนมีความรักความร่มรื่นสวยงามของพรรณไม้ให้สนองต่อการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตามหลักสูตรการศึกษาแกนกลาง พุทธศักราช ๒๕๕๑ และให้สวนพฤกษศาสตร์เป็นสื่อกลางการเรียนรู้ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญในวิสัยทัศน์ของโรงเรียน โดยเฉพาะที่สำคัญยิ่งของเป้าหมายหลักเพื่อสนองแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เพื่อให้การดำเนินการ งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ของโรงเรียนพญาเม็งรายบรรลุตามวัตถุประสงค์ และดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน โรงเรียน จึงได้จัดทำโครงการ สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โดยกำหนดภารกิจองค์ประกอบทั้ง ๕ ด้าน ให้ครูและบุคลากร นักเรียน ส่วนราชการต่าง ๆ ประชาชนในท้องถิ่น มามีส่วนร่วมสนับสนุน ประสานงานเพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างสูงสุดต่อไป

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสร้างจิตสำนึกให้นักเรียน ตลอดจนบุคคลทั่วไป เห็นคุณค่าของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเป็นโครงการตามพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  2. มีความรัก  และเห็นคุณค่าของพรรณไม้   ร่วมรณรงค์การลดภาวะโลกร้อนและเผยแพร่สู่ภายนอก
  3. เพื่อให้โรงเรียนเป็นแหล่งรวบรวมพรรณไม้  ข้อมูลพรรณไม้ และการเก็บรักษา เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา  โดยนักเรียนแต่ละระดับได้มีส่วนร่วมในการดูแลพื้นที่รับผิดชอบตามโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
  4.  เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน เป็นแหล่งเรียนรู้รู้ที่เปรียบเสมือนเป็นครูที่พูดไม่ได้ ทั้งบุคคลภายในและภายนอกโรงเรียน
  5.  เพื่อใช้เป็นแหล่งพักผ่อน ในโรงเรียน
  6.  เพื่อให้นักเรียนตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชน   รักและภาคภูมิใจในกิจกรรมของโรงเรียน

เป้าหมายเชิงปริมาณ

นักเรียนพญาเม็งราย ระดับ ม.๑-ม.๖ และบุคลากรทั้งหมดในโรงเรียนมีส่วนร่วมรับผิดชอบการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในองค์ประกอบทั้ง ๕ และเรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนตามตัวชี้วัดของระดับชั้น ร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการทุกกลุ่มสาระวิชาตามแนวพระราชดำริปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

 ระดับมัธยมต้น

ข้อ ๑. ให้บอกชื่อพื้นเมือง ของพืชและสัตว์ต่างๆ ได้

ข้อ ๒. ต้องบอกรูปลักษณ์ทางเรขาคณิตได้ เช่น สามเหลี่ยม รี กลม

ข้อ ๓. ต้องปลูกต้นไม้จากเมล็ดได้ และนับจำนวนได้ เช่น ปลูกถั่ว ไม้ที่โตเร็ว บอกความยาว

ข้อ ๔. ให้วาดภาพ ระบายสี บอกชื่อสี ข้อ ๑ – ๓ ได้

ข้อ ๕. บอกประโยชน์ของพืช สัตว์นั้นๆ ได้

ข้อ ๖. บอกพฤติกรรมของพืช สัตว์นั้นๆ ได้

ข้อ ๗. บรรยายโดยคำพูดในข้อ ๑ – ๖ ได้ (ยืนพูดได้) เป็นการเล่าเรื่อง

ข้อ ๘. เขียนรายงานข้อ ๑ – ๖ ได้

ข้อ ๙. เขียนภาษาอังกฤษในข้อ ๑ ได้

ข้อ ๑๐.เขียนบรรยายความรู้สึกในการทำงานร่วมกับเพื่อนได้

ข้อ ๑๑ วาดภาพลายเส้นทางวิทยาศาสตร์ได้

ข้อ ๑๒.ทำแผนผังบริเวณแสดงตำแหน่งต้นไม้ได้

ข้อ ๑๓.ให้ทำห้าองค์ประกอบของงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนได้อย่างชัดเจน เช่น ก.๗ -๐๐๓

ระดับมัธยมปลาย

ข้อ ๑. ให้บอกชื่อพื้นเมือง ของพืชและสัตว์ต่างๆ ได้

ข้อ ๒. ต้องบอกรูปลักษณ์ทางเรขาคณิตได้ เช่น สามเหลี่ยม รี กลม

ข้อ ๓. ต้องปลูกต้นไม้จากเมล็ดได้ และนับจำนวนได้ เช่น ปลูกถั่ว ไม้ที่โตเร็ว) บอกความยาว

ข้อ ๔. ให้วาดภาพ ระบายสี บอกชื่อสี ข้อ ๑ – ๓ ได้

ข้อ ๕. บอกประโยชน์ของพืช สัตว์นั้นๆ ได้

ข้อ ๖. บอกพฤติกรรมของพืช สัตว์นั้นๆ ได้

ข้อ ๗. บรรยายโดยคำพูดในข้อ ๑ – ๖ ได้ (ยืนพูดได้) เป็นการเล่าเรื่อง

ข้อ ๘. เขียนรายงานข้อ ๑ – ๖ ได้

ข้อ ๙. เขียนภาษาอังกฤษในข้อ ๑ ได้

ข้อ ๑๐.เขียนบรรยายความรู้สึกในการทำงานร่วมกับเพื่อนได้

ข้อ ๑๑.วาดภาพลายเส้นทางวิทยาศาสตร์ได้

ข้อ ๑๒.ทำแผนผังบริเวณแสดงตำแหน่งต้นไม้ได้

ข้อ ๑๓.ให้ทำห้าองค์ประกอบของงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนได้อย่างชัดเจน เช่น ก.๗ -๐๐๓

ข้อ ๑๔.ให้สร้างรูปวิธาน และค้นคว้าชื่อพรรณไม้และชีวภาพอื่นๆ จากรูปวิธานที่มีอยู่ได้(ตามศักยภาพที่ตนมี)

ข้อ ๑๕. ให้เขียนชื่อวิทยาศาสตร์ของพืชพรรณ และชีวภาพได้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์

ข้อ ๑๖. สามารถวาดภาพส่วนประกอบของพืช และชีวภาพได้ถูกต้องและถูกตรง

ข้อ ๑๗. วางแนวทางการศึกษาชีวภาพได้อย่างสมบูรณ์และเป็นระบบ

เป้าหมายเชิงคุณภาพ

  1. นักเรียนและบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบตามแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  2. นักเรียนและบุคลากรมีความรู้ความเข้าใจมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชสนองพระราชดำริ “สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน”
  3. นักเรียนและบุคลากรทุกคนร่วมสนองการนำแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้  และมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช “งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” ตลอดจนการรณรงค์ลดภาวะโลกร้อน

ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินงาน

  1. เกิดความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชน  ครู  นักเรียน  ผู้ปกครอง

  2. เป็นแหล่งข้อมูลพืชพรรณและภูมิปัญญาท้องถิ่น

  3.  พัฒนารูปแบบการสืบค้น เพื่อส่งเสริมคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ โดยเชื่อมต่อด้วยระบบฐานข้อมูล

  4. เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าเกิดผู้ชำนาญการ  เกิดผลงานทางวิชาการ

  5. ผู้ปฏิบัติรู้จักใช้สื่อธรรมชาติที่มีอยู่รอบตัวรู้จักตั้งคำถาม  หาคำถาม  ช่างสังเกต  และค้นคว้า

  6. มีจิตใจที่อ่อนโยน  เห็นประโยชน์และคุณค่า  ทำให้เกิดความรักในพืชพรรณไม้  ไม่ทำลาย  และมีแนวคิดที่อนุรักษ์สืบไป

  7. เกิดความคิดสร้างสรรค์  ความสวยงาม  ความร่มรื่นของอาคารสถานที่

  8. เป็นศูนย์ศึกษาและประสานงานสวนพฤกษศาสตร์ของสถานศึกษาอื่น หรือประชาชนทั่วไป 

ขั้นตอนการดำเนินงาน

  1. นำคณะครูและบุคลากรศึกษาข้อมูล เรียนรู้รู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์โดยการศึกษาดูงานโรงเรียนอื่น ๆ ที่ประสบผลสำเร็จ เพื่อให้เกิดมุมมอง วิสัยทัศน์ ทัศนคติ แนวคิด

  2. จัดทำโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

  3. เสนอโครงการต่อผู้บริหาร

  4. แต่งตั้ง และประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

  5. คณะกรรมการวางแผน กำหนดภารหน้าที่ กรอบงาน ฝ่ายต่าง ๆ ตามองค์ประกอบทั้ง ๕ โดยเน้นการมีส่วนร่วม ของนักเรียนในระดับชั้นต่างๆ และหน่วยงาน องค์กร ชุมชนทุกส่วนของอำเภอพญาเม็งราย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ

  6. ครูและนักเรียนร่วมปฏิบัติกิจกรรม ศึกษา เรียนรู้ ดูแลสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ให้เป็นไปตามองค์ประกอบ ๕ ด้าน พร้อมกันทุกวันที่โรงเรียนกำหนด และเรียนรู้ ดูแล บริเวณรับผิดชอบของตนทุกวัน

  7. โรงเรียนเป็นแกนนำในการจัดทำโครงการ “โครงการ ๑ ล้านกล้า ถวายพ่อ”เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงบรมราชาภิเษกปีที่ ๖๐ ในปีนี้ และในโอกาสสำคัญที่ในปี ๒๕๕๔ จะเป็นปีเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๘๔ พรรษา หรือครบ ๗ รอบ และกิจกรรมส่งเสริมงานอนุรักษ์พันธุ์พืชหรือสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ

  8. ประชาสัมพันธ์ และปรับปรุงพัฒนาข้อมูลรูปแบบ ดำเนินงานนรูปศูนย์เรียนรู้สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนอย่างต่อเนื่อง

  9. การจัดกิจกรรมเสนอผลงานประจำปี โรงเรียน

  10. สรุปผลการดำเนินกิจกรรมเมื่อสิ้นภาคเรียน

  11. ประเมิน และสรุปรายงานผลการดำเนินงานเมื่อสิ้นปีการศึกษา

  12. เสนอเข้ารับการประเมิน เพื่อเสนอขอรับป้ายพระราชทานสวนพฤษศาสตร์โรงเรียน ระยะปีที่ ๓